วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การจัดดอกไม้สีโทนร้อน-เย็น

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า สี สามารถทำให้เกิด อารมณ์ความรู้สึก และ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ฉะนั้นจึงได้จัดแบ่งสีออกเป็น กลุ่ม ได้แก สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น

สีโทนร้อน ได้แก่ สีแดง ส้ม เหลือง และสีอื่นๆ ที่ใกล้

เคียงกัน การจัดสีโทนร้อน


ข้างต้นมีความสัมพันธ์กับ สิ่งที่ร้อนอย่างเช่น 

พระอาทิตย์ ความร้อน เปลวไฟ ซึ่งจะทำให้เกิดความ

รู้สึก กระตือรือร้น ความสุข กระตุ้นความอบอุ่น  

ร่าเริง  ดอกไม้ และ วัสดุที่เป็นสีโทนร้อน จึงทำให้ดู 

เป็นจุดเด่นในชิ้นงาน ดูใหญ่ และ ส่งผลไปถึงผู้มอง 

เพราะ สีโทนร้อนนั้นทำให้ดูขยายใหญ่ สามารถมอง

เห็นได้จากที่ไกลๆ แต่การใช้สีดทนร้อนที่มากเกินไป

ก็อาจทำให้ดูขัดตาได้

สีโทนเย็น ได้แก่ สีฟ้า เขียว ม่วง และสีอื่นๆที่ใกล้เคียงกับสีทั้ง นี้ สีโทนเย็น เป็นสีที่สัมพันธ์กับสิ่งที่มีความเย็น เช่น หญ้า น้ำ น้ำแข็ง ซึ่งโดยทั่วไปจะสื่อถึงความผ่อนคลาย ความสงบ และความอ่อนหวานละมุนละไม นอกจากนี้ยังให้ความรู้สึกเงียบเหงาและหดหู่ จึงเป็นเหตุให้มีความเป็นมิตรน้อย ทั้งนี้วัตถุและดอกไม้สีโทนเย็นมักจะทำให้ถูกมองผ่านไป เพราะว่าจะดูมีขนาดเล็กกว่าที่เป็นจริง เนื่องจากจะกลืนไปกับพื้นหลัง และมองไม่เห็นในระยะไกล
นอกจากความอบอุ่นและความเยือกเย็นแล้ว แต่ละสีก็จะมีบุคลิกเป็นของตัวเองที่ตอบสนองถึงอารมณ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งสีนั้นจะมีความสัมพันธ์กับอารมณ์ที่หลากหลายและแตกต่างกันตามสังคมนั้นๆ

สีเฉพาะ 


โดยปกติแล้วทุกคนต่างมีสีที่ตัวเองชื่นชอบ ดังนั้นจึง

เป็นสิ่งที่ไม่ยากที่จะจัดดอกไม้โดยใช้สีต่างๆที่ชอบ 

ซึ่งสีจะช่วยสร้างให้เกิดอารมณ์ความรู้สึก และเร้า

อารมณ์ต่างๆ ด้วยเหตุผลเหล่านี้การเข้าใจถึงการสื่อ

อารมณ์ที่หลากหลายของสีต่างๆ จะช่วยให้นัก

ออกแบบสามารถเลือกใช้สีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สีขาว
สีขาวเป็นสีที่เป็นกลางเพราะว่ามีคุณสมบัติในการสะท้อนแสง และยังเพิ่มความสว่างและความแตกต่าง บางครั้งเรียกว่าไร้สี (achromatic)   สีขาวเป็นสีที่เรียบง่าย สื่อได้ทั้งความหรูหรา ความดีงามและการหลอกลวง

สีแดง
สีแดงเป็นสีที่กระตุ้นให้เกิดความสดใส ร่าเริง ซึ่งแสดงได้ถึงความเข้มแข็งและความมีอำนาจ และเนื่องจากคู่ของสีแดงนั้นคือสีเขียว การใช้สีเขียวของใบไม้จะช่วยทำให้สีแดงของดอกไม้ดูโดดเด่นขึ้น
สีชมพู
สีชมพูอ่อนแสดงออกอย่างชัดเจนถึงความโรแมนติกและความเป็นผู้หญิงสีชมพูสดและเข้มจะช่วยดึงดูดความสนใจได้มากกว่าสีชมพูอ่อนหรือสีชมพูพาสเทล

สีส้ม
เช่นเดียวกับสีแดงคือ สีส้มเป็นสีที่เร้าอารมณ์แต่ไม่ดึงดูดทางสายตามากเกินไป สีส้มจะช่วยสร้างความน่าสนใจและช่วยเพิ่มความสว่าง สีส้มเข้มมักจะถูกนำไปใช้จัดดอกไม้สำหรับฤดูใบไม้ร่วงและวันฮาโลวีน โดยทั่วไปแล้ว สีส้มโทนอ่อน (ปะการัง, แซลมอน, ลูกพีช) และสีส้มโทนเข้ม (สนิม, สีน้ำตาลและอื่นๆ) จะสามารถผสมผสานกันได้อย่างดีกับสีอื่นๆ ซึ่งสีฟ้าจะเป็นคู่สีที่เข้ากับสีส้ม และความเข้มอ่อนของทั้งสองเฉดสีก็สามารถนำมาจัดรวมกันได้อย่างเหมาะสม ในรูปแบบของการผสมผสานอย่างมีชีวิตชีวา
สีเหลือง
สีเหลืองสะท้อนให้เห็นถึงการกระจายของแสงได้อย่างยอดเยี่ยม เพราะว่ามีคุณสมบัติของความเจิดจ้าสดใสและมองเห็นได้ชัดเจน สื่อได้ถึงแสงอาทิตย์และการให้กำลังใจ สีเหลืองเป็นสีที่แสดงถึง”ความเป็นมิตร” ซึ่งการเติมสีเหลืองเข้าไปเล็กน้อยในการจัดดอกไม้จึงช่วยเพิ่มความมีชีวิตชีวามากขึ้น หากใช้สีเหลืองเพียงอย่างเดียวอาจทำให้ดูน่าเบื่อและรำคาญตา เพราะฉะนั้นการจัดดอกไม้โดยใช้สีเหลืองนำมาจับคู่กับสีกับดอกไม้สีอื่น เช่น สีเหลืองจับคู่กับสีม่วง ก็สามารถสื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ เป็นต้น นอกจากนี้สีเหลืองยังสามารถจับคู่กับสีอื่นๆได้อีกมากมายสีเขียว
สีเขียว ในการจัดดอกไม้สด สีเขียวเป็นสีที่ใช้ทำพื้นหลังในการจัดดอกไม้และตามธรรมชาติจริงๆของดอกไม้ สีเขียวเป็นสีที่ดูเรียบง่ายเป็นธรรมชาติ


สีฟ้า
สีฟ้า โดยทั่วไปจะสื่อถึงความสงบเงียบ และ ความเย็น  สีฟ้าจะดูแตกต่างกันไปภายใต้สภาวะแสงหนึ่งๆ
ดอกไม้สีฟ้าจำนวนมากความจริงแล้วเป็นกลุ่มดอกไม้สีม่วงเสียมากกว่า เนื่องจากดอกไม้สีฟ้าจะดูจางหายไปกับพื้นหลังเมื่อมองจากระยะไกล ฉะนั้นจึงควรระวังการใช้ปริมาณสีฟ้าที่มา
กเกินไป เพราะสีฟ้าที่ดูเข้มเกินไปจะมีผลทางจิตวิทยา โดยทำให้จิตใจห่อเหี่ยว
สีม่วง
สีม่วง  ดอกไม้สีม่วงเป็นสีที่น่าทึ่งมากเนื่องจากสามารถใช้จัดดอกไม้ได้อย่างหลากหลาย เพราะสีม่วงคือสีที่เกิดจากการรวมกันของสีทั้งสองขั้วโดยจะสื่อไปทางอบอุ่นหรือความเย็นก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น การเพิ่มร้อยละของสีแดงหรือสีฟ้า ก็จะทำให้สีม่วงสื่อออกมาเป็นสีโทนร้อน หรือโทนเย็น ตามสีที่นำเข้ามาผสมด้วย




    การจัดดอกไม้ทรงสูง 
     การจัดดอกไม้ทรงสูงจะให้ความรู้สึกมีราคาค่างวดมากกว่าดอกไม้ทรงอื่นๆ เหตุเพราะมองดูสง่าและเด่น
การจัดดอกไม้ทรงสูง คือจัดให้ดอกไม้พ้นจากขอบแจกัน สูงขึ้นด้านบน หนึ่งเท่าครึ่ง ถึงสองเท่าของความสูงของแจกัน   
   
    วิธีการจัด 
    ปักดอกสูงสุดก่อนหนึ่งดอก ให้มีความสูง 1 - 11/2 เท่าของความสูงแจกัน แล้วปักดอกต่อไปให้ลดหลั่นลงมาเป็นระยะ และปักแซมด้วยใบไม้และดอกไม้เสริมให้สวยงาม  การจัดดอกไม้ทรงสูงอาจดัดแปลงไปใช้ภาชนะอย่างอื่นแทนแจกันก็ได้ เช่น ตะกร้า เปลือกไม้ หรือท่อนไม้จากธรรมชาติ


การจัดดอกไม้รูปทรงสามเหลียมหน้าจั่ว

การจัดดอกไม้รูปทรงสามเหลียมหนาจั่ว เป็นรูปแบบที่นิยมมาแต่ครั่งโบราณ และถือว่า
เป็นรูปทรงพ้ืนฐานในการเริ่มจัดดอกไม้ อีกท้งยังสามารถดัดแปลงไปจัดเป็นรูปทรงอื่นๆ ได้ง่ายข้ึน
และสามารถกำหนดการปักได้แน้นอนเป็นพื้นฐานการวางช่องว่างของดอกไม้ที่ดี
วัตถุประสงค์
1. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการจัดดอกไม้ รูปทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่วไ ด้
2. เตรียมดอกไม้ใบไม้ไดเหมาะสมกับการจัดดอกไม้รูปทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่วได้
3. จัดเตรียมโฟมปักดอกไมลงในแจกันก่อนการจดดอกไม้ได้
4. จัดดอกไม้รูปทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่วได้ ภายในเวลาที่กำหนด


วัสดุและอุปกรณ์
 1.   ดอกกุหลาบ                               13  ดอก
 2.   ดอกสแตติส                                2  ช่อ
 3.   ดอกเบญจมาศช่อ                       2  ช่อ
 4.   เฟิร์นใบมะขาม                          25  ใบ
 5.   โฟมปักดอกไมสด                     1/2  ก้อน
 6.    แจกันสูงประมาณ                     8-10 นิ้ว 1  ใบ
 7.    กรรไกรตัดกิ่งไม้                          1  เล่ม
 8.    ถาดใส่วัสดุ                                 1  ใบ
 9.    มีดบาง                                        1  เล่ม
 10.  ผาเช็ดมือทำความสะอาด          1  ผืน
 11.  ที่ฉีดน้ำ                                       1  อัน
 12. ถังพักดอกไม้                               1  ใบ


ข้อเสนอแนะ
1.  การใช้ดอกไม้ในการจัดดอกไม้ รูปทรงสามเหลี่ยมหนาจั่วนั่น สามารถเลือกได้ตาม
ความเหมาะสม หรือตามฤดูกาล หรือดอกไม้ที่มีในท้องถิ่น เป็นตน้
2.  การเลือกสีของดอกไม้เลือกได้ตามความต้องการ แต่ควรคำนึงถึงโทนสีด้วยถ้าเป็น
สีตรงข้ามกันและตัดกันรุ่นแรง ก็ต้องระวังในเรื่องปริมาณที่ใช้ถ้าใช้ 50:50  ก็จะทำให้ดูกระด้าง
เกินไป ควรใช้ประมาณ 80:20  เท่านั้นแต่ถ้าใช้ สีอ่อนแก่โทนเดียวกันก็จะไม่มีปัญหาเรื่องปริมาณ
ที่ใช้

   การจัดดอกไม้รูปทรงสามเหลี่ยมหนาจั่ว เป็นที่นิยมในทองตลาด เนื่องจากจัดง่ายและเป็น
พื้นฐานของการเรียน การจัดดอกไม้ทำให้ สามารถพัฒนาไปจัดในรัปทรงอื่น ๆ ไดง่ายขึ้น

การจัดดอกไม้สไตล์ Topiary

   โทปิอารี่ (Topiary) เป็นศิลปะการตกแต่งไม้พุ่มให้เป็นรูปทรงต่างๆ โดยเฉพาะรูปทรงเรขาคณิต เช่น รูุปทรงกลม รูปทรงสามเหลี่ยม หรือ รูปสี่เหลี่ยม รวมทั้งการตกแต่งให้เป็นรูปคน สัตว์ หรือสิ่งของต่างๆ ซึ่งปัจจุบันนี้และต่อมานักจัดดอกไม้ก็ได้นำศิลปะการจัดโทปิอารี่มาใช้ในการจัดดอกไม้ด้วย โดยโทปิอารี่ที่จัดง่ายที่สุดคือรูปทรงกลม และดอกไม้ที่จัดโทปิอารี่ได้สวยที่สุดก็คือ ดอกกุหลาบนั้นเอง


การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่นหรืออีเคบานะ

  การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่นหรืออีเคบานะ 
  เป็นความงามง่ายและเป็นธรรมชาติ อาจประกอบด้วยกิ่งไม้บ้าง ดอกไม้บ้าง อย่างละนิด อย่างละหน่อย ดูแล้วทั้งสมถะ ทั้งสง่างาม
     หลายคนบอกว่า การจัดดอกไม้ญี่ปุ่นก็เหมือนการไม่จัด
     แต่ลีลาดอกไม้ลักษณะนี้ ยิ่งสร้างความสะดุดตา สะดุดใจให้กับผู้พบเห็นทั่วไป




  วิถีดอกไม้ วิถีธรรมะ

       สำหรับสไตล์การจัดดอกไม้ญี่ปุ่นโบราณขนานแท้ มีมาตั้งแต่ก่อนพุทธพุทธเข้ามา คนญี่ปุ่นจะจัดกิ่งสนธรรมดาถวายเทพในลัทธิชินโต กิ่งสนเป็นต้นไม้ชนิดเดียวที่เขียวสดตลอดปี ในฤดูที่ต้นไม้ชนิดอื่นใบไม้ร่วงหมดต้น มีเพียงต้นสนเท่านั้นที่งามสง่า
      ภายหลังญี่ปุ่นรับพุทธศาสนาเข้ามา และติดต่อกับจีน จึงเริ่มจัดดอกไม้ถวายพระ เมื่อผสมผสานเข้ากับสไตล์การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่นโบราณ จึงได้สืบทอดมาถึงปัจจุบัน


การจัดดอกไม้       
      อิเคบานา ( Ikebana) เป็นศิลปะการจัดวาง ตัดแต่งก้าน ใบและดอกไม้ลงในแจกันหรือภาชนะอื่นๆ อย่างสวยงามของญี่ปุ่น ซึ่งมีพัฒนาการยาวนานกว่า 700 ปี ทำให้รูปแบบของการจัดดอกไม้พัฒนาแตกต่างไปหลากหลายสไตล์ รูปแบบพื้นฐานที่แบ่งง่ายตามรูปทรงของแจกันหรือภาชนะรองรับมี แบบคือ
 การจัดดอกไม้ในแจกันทรงสูง และการจัดในภาชนะทรงเตี้ย


Heika การจัดในแจกันทรงสูง
       แบบ Heika ที่หมายความรวมถึงการจัดในสไตล์ rikka, seika หรือ shoka เป็นการจัดดอกไม้ในแจกันทรงสูงและเน้นรูปทรงแนวดิ่ง จุดเด่นสำหรับการจัดแบบนี้ เน้นความงามตามธรรมชาติของดอกไม้และการจัดวางที่หรูหราสง่างาม แจกันที่ใช้จะเป็นทรงสูงปากแคบ เมื่อวางดอกไม้ลงไปก้านของดอกไม้จะถูกรวบไว้ติดกันที่บริเวณปากแจกัน
       การจัดแบบ Heika มีองค์ประกอบสำคัญ ข้อ ได้แก่ ดอกฐาน ดอกรองช่วงกลาง และดอกยอดสูงสุด แต่ความยาว มุมและตำแหน่งของกิ่งก้านใบจะวางแตกต่างกันตามสไตล์แยกย่อย สำหรับรูปแบบง่ายที่นิยมกัน มักจะตัดก้านดอกไม้ที่จะวางเป็นฐานให้มีความยาวเพียงหนึ่งเท่าครึ่งของความสูงของแจกัน ส่วนดอกรองและดอกยอดสูงสุดจะตัดก้านให้ยาวเท่าครึ่งหนึ่งของดอกฐาน
      องศาของการจัดวาง ดอกฐานจะเอียงไปข้างหน้า 70 องศา ในแนวดิ่ง และกินเนื้อที่แนวนอนเอียงทางซ้าย 45 องศา ส่วนด้านหน้าของแจกันที่จะหันออก จากนั้นวางดอกรองเสียบไว้ด้านหลังของดอกฐาน เพื่อเพิ่มมิติความหนาแน่นของพื้นที่ โดยให้ก้านดอกรองส่วนที่โผล่พ้นจากปากแจกันมีความยาวครึ่งหนึ่งของก้านฐาน และดอกยอดวางไว้ตรงกึ่งกลางแจกัน
       ส่วนของใบประดับจะเอียงเป็นพุ่มทางด้านซ้ายของดอกไม้ ส่วนยอดที่มีก้านยาวตั้งตรงดิ่งอยู่กึ่งกลางความสูงเพียงครึ่งของก้านใบประดับที่รองอยู่ด้านหลัง เมื่อเติมดอกไม้สั้นเพียงครึ่งของดอกยอดตรงกลางเพิ่ม
       บริเวณด้านหน้าเยื้องไปฝั่งขวาของแจกัน ก็เสร็จสมบูรณ์แบบ รูปลักษณ์ที่ออกมาจะเป็นช่อดอกไม้เรียบหรู

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สิ่งที่ต้องเตรียม     - ภาชนะสำหรับจัด หมายถึง ภาชนะสำหรับรองรับดอกไม้มีหลายชนิด เช่น แจกันรูปทรงต่าง ๆ เช่น กระบุง ตะกร้า ชะลอม
     - ที่สำหรับรองภาชนะ เมื่อจัดดอกไม้เสร็จควรมีสิ่งรองรับเพื่อความสวยงาม ความโดดเด่นของแจกัน เช่น ไม้ไผ่ขัดหรือสานเป็นแพ กระจก แป้นไม้
     - กรรไกรสำหรับตัดแต่ง
     - เครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น ลวด ทราย ดินน้ำมัน กระดาษสี ฟลอร่าเทปสีเขียว ก้านมะพร้าว ลวดเบอร์ 24 และ เบอร์ 30
     - ดอกไม้ประดิษฐ์พร้อมใบไม้สำเร็จ
     - เครื่องประกอบตกแต่ง เช่น กิ่งไม้ ขอนไม้ ตุ๊กตา ขดลวด เป็นต้น

ดอกไม้ที่นิยมใช้     1. เลือกดอกไม้ตามวัตถุประสงค์สำหรับงานนั้น ๆ
     2. ความทนทานของดอกไม้ประดิษฐ์
     3. ขนาด เลือกให้เหมาะกับภาชนะ สถานที่ตั้ง และแบบของการจัด
     4. การเลือกสี ต้องดูฉากด้านหลังและจุดประสงค์ว่าต้องการ กลมกลืน  หรือตัดกัน
     5. ความนิยม เช่นดอกกุหลาบนิยมใช้ในงานมงคล ดอกบัวใช้บูชาพระ 

สิ่งควรคำนึงในการจัดดอกไม้     1. สัดส่วน ควรให้ความสูงของดอกไม้พอดีกับแจกันเช่น แจกันทรงสูง ดอกไม้ดอกแรกควรสูง เท่ากับ 1.5 - 2 เท่าของความสูงของแจกัน สำหรับแจกันทรงเตี้ยดอกไม้ดอกแรกควรสูงเท่ากับ 1.5 - 2 เท่าของความกว้างของแจกัน
     2. ความสมดุยลควรจัดให้มีความสมดุลไม่หนักหรือเอียงข้างใดข้างหนึ่ง
     3. ความกลมกลืน เป็นหัวใจของการจัดต้องมีความสัมพันธ์ทุกด้านตั้งแต่ขนาดของแจกัน ความเล็กและใหญ่ของดอกไม้ ความมากน้อยของใบที่นำมาประกอบ
     4. ความแตกต่าง เป็นการจัดที่ทำให้สวยงามสะดุดตา เช่นจัดดอกไม้เล็ก ๆ และมีดอกใหญ่เด่นขึ้นมา
     5. ช่วงจังหวะ ช่วยให้ดอกไม้มีชีวิตมากขึ้น ควรไล่ขนาด ดอกตูม ดอกแย้ม จนถึงดอกบาน
     6. การเทียบส่วน เป็นความสัมพันธ์กับส่วนต่าง ๆ เช่น ดอกไม้ดอกเล็กควรใส่แจกันใบเล็ก ตลอดจนที่รองแจกันมีขาดเล็กด้วย

รูปแบบการจัดดอกไม้  การจัดดอกไม้โดยทั่ว ๆ ไปแบ่งออกเป็น 3 แบบ ดังนี้
     1. การจัดดอกไม้เลียนแบบธรรมชาติ ( เพื่อใช้เอง) เป็นการจัดดอกไม้แบบง่าย ๆ เพื่อประดับตกแต่งบ้าน โดยอาศัยความเจริญเติบโตของต้นไม้ ดอกไม้ กิ่งไม้ นำมาจัดลงภาชนะ โดยใช้กิ่งไม้ขนาดต่าง ๆ 3 กิ่ง การจัดดอกไม้แบบนี้ นิยมนำหลักการจัดดอกไม้จากประเทศ
     2. การจัดดอกไม้แบบสากล นิยมจัด 7 รูปแบบ คือ รูปทรงแนวดิ่ง  ทรงกลม ทรงสามเหลี่ยมมุมฉาก  ทรงสามเหลี่ยมด้านเท่า ทรงพระจันทร์คว่ำ  ทรงพระจันทร์เสี้ยว ทรงตัวเอส
     3. การจัดดอกไม้แบบสมันใหม่ เป็นการจัดดอกไม้ที่มีรูปแบบอิสระ เน้นความหมายของรูปแบบบางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้ดอกไม้แต่อาจใช้วัสดุหรือภาชนะเป็นจุดเด่นเป็นการสร้างความรู้สึกให้ผู้พบเห็น การจัดดอกไม้แบบนี้ยังอาศัยหลักเกณฑ์สัดส่วนและความสมดุลด้วย

การเตรียมดอกไม้ก่อนจัด     1. ดอกไม้ ใบไม้ ที่ซื้อมาจากตลาดต้องนำมาพักไว้ในน้ำอย่างน้อย 45 นาที - 2 ชั่วโมง
     2. นำดอกไม้มาลิดใบที่ไม่สวย เหี่ยว หรือไม่จำเป็นออกไป
     3. ตัดก้านดอกไม้ใต้น้ำ หากก้านไม่แข็งให้ตัดตรง หากก้านแข็งให้ตัดเฉียงประมาณ 1 นิ้ว
     4. แช่ดอกไม้พักไว้ในน้ำมาก ๆ
     5. ดอกไม้ที่ซื้อมาค้างคืนให้ห่อด้วยใบตองหรือกระดาษนำไปแช่ไว้ในถังน้ำ เพื่อไม่ให้ดอกบานเร็ว






หลักทั่วไปในการจัดแจกันดอกไม้
     1. หน้าที่และประโยชน์ใช้สอย ก่อนจัดควรจะทราบวัตถุประสงค์ในการจัดตกแต่งก่อนว่าจะใช้ในงานอะไร และจะจัดวางที่ไหน เช่น วางกลางโต๊ะ วางมุมโต๊ะ ชิดผลัก หรือแจกันติดผนัง  เป็นต้น และควรดูด้วยว่า ลักษณะของห้องที่จะจัดวางเป็นห้องลักษณะแบบใด ทรงใด
และขนาดเล็ก ปานกลางหรือใหญ่ เพื่อเราจะได้เลือกแจกันและดอกไม้ที่เหมาะสมกับห้องนั้น ๆ ด้วย
     2. สัดส่วน สัดส่วนเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่จะกำหนดว่าแจกันที่จัดเสร็จจะสวยหรือไม่สวย  ถ้าสัดส่วนไม่สมดุลย์แจกันที่จัดออกมาก็ไม่สวย สิ่งที่ต้องคำนึง
          2.1 ภาชนะทรงเตี้ย ความสูงที่จัดควรเป็น 1.5-2 เท่าของความกว้างของภาชนะ
          2.2 ภาชนะทรงสูง ความสูงที่จัดควรเป็น 1.5-2 เท่าของความสูงของภาชนะ
     3. การเทียบส่วน ระหว่างดอกไม้กับแจกัน, แจกันกับขนาดของห้อง
     4. ความสมดุลย์ เป็นความถ่วงดุล เช่น ซ้ายขวาเท่ากัน หรือ สองข้างไม่เท่ากันแต่หนักไปทางใดทางหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้จัด
     5. การเลือกสี เส้นและขนาดให้แตกต่าง กัน เช่น สีกลาง อ่อน  เส้นที่โค้งเรียว ขนาดดอกมีใหญ่เล็กเป็นต้น
     6. ความกลมกลืน คือ การเข้ากันอย่างสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ
     7. ความแตกต่าง เช่น สีของดอก ใบ และภาชนะที่มีสีแตกต่างกัน  แต่ความแตกต่างไม่ควรเกิน 20%
     8. การสร้างจุดเด่น คือ จัดให้มีตัวเด่น ตัวรอง และให้มีการส่งเสริมกันและกัน



   การจัดดอกไม้สีโทนร้อน
 สีโทนร้อนได้แก่ สีแดง สีส้มหรือสีแสด สีเหลือง สีม่วง เป็นต้น  สีโทนร้อนเป็นสีที่แสดงถึงพลัง ความบ้าคลั่ง ความตื่นเต้นเร้าใจ การเย้ายวน  ความกระฉับกระเฉง และไม่พ่ายแพ้ง่าย ๆ ถ้าคุณจะจัดดอกไม้โทนร้อนในบ้าน  ควรเลือกมุมที่แสงแดดส่องถึง การจัดลำดับสีโทนร้อนมีความหลากหลาย ที่จะทำให้คุณมีความคิดสร้างสรรค์แบบไม่จำกัด




   การจัดดอกไม้สีโทนอ่อน
สีโทนอ่อนเป็นสีเย็นตา เช่น สีขาว มักใช้ในโอกาศสำคัญเกี่ยวกับทางศาสนา  เช่น งานแต่ง ดอกไม้สีขาวเป็นทางเลือกคลาสสิค ความงามตามธรรมชาติของดอกไม้สีอ่อน ทำให้ดูดีขึ้นได้ด้วยการเลือกใบอย่างชาญฉลาด  ภาชนะที่ใส่ถ้าเป็นดอกสีขาว  ภาชนะอาจจะเลือกให้อยู่ในโทนเดียวกันก็ได้ จะให้ความงามที่สบายตา และดูมีรสนิยม